สมุดพกนักเรียน ปพ | SCHOOLSHOP.CO.TH
top of page
Home#2.png

แบบประเมินผลนักเรียน
สมุดพกนักเรียน

สั่งผลิตสมุดพกนักเรียน สามารถแก้ไขรายละเอียดต่างๆได้

รายละเอียดเพิ่มเติม และ รับส่วนลด คลิ๊ก!!

Screen Shot 2564-11-16 at 16.30.36.png

สมุดพกนักเรียน แบบประเมินผลการเรียน
ปพ.5 ปพ.6 ปพ.8

ปพ. หรือ เอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน  

ปพ.5 คือ แบบบันทึกผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบันทึกผลการเรียนเป็นรายวิชา
ปพ.6 คือ แบบรายงานการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล 
ปพ.8 คือ ระเบียนสะสม 

school.jpg

ปพ.5 คือ สมุดพกนักเรียน
ที่แสดงผลการพัฒนาคุณภาพ
ของผู้เรียนของแต่ละห้องเรียน

school ปพ.jpg

ตัวอย่าง ปพ.5 ระดับมัธยมศึกษา

ตัวอย่างสมุดประเมินผล
ระดับชั้นอนุบาล

ปพ.5 โรงเรียนสะพือวิทยาคาร
(ไฟล์ละเอียดสูง)

IMG_2656.png
ปพ5 วัดสิงห์ PIC-SET#1_190712_0023_edite
ปพ5 สะพือวิทยาคาร ปกนอก.jpg
ปพ 5 สะพือวิทยาคารปกใน.jpg

ปพ.6 คือ สมุดพกนักเรียน
รายคนแบบรายงานการพัฒนาคุณภาพ
ผู้เรียนรายบุคคล 

ปพ.6 สมุดพกนักเรียน
ระดับประถมศึกษา 

ปพ6 ประถมต้น นอกหน้า.jpg

     แบบ ปพ. หรือเรียกเต็มๆ ว่า เอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเอกสารหลักฐานการศึกษาถือเป็นเอกสารสำคัญที่สถานศึกษาต้องจัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ของการจัดการศึกษา ดังนี้

- บันทึกข้อมูลในการดำเนินการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลการเรียน ได้แก่ แบบบันทึกผลการเรียนประจำรายวิชา

- ติดต่อสื่อสาร รายงานข้อมูล และผลการเรียนของผู้เรียน ได้แก่ แบบรายงานประจำตัวนักเรียน ระเบียนสะสม

- จัดทำและออกหลักฐานแสดงวุฒิและหรือรับรองผลการเรียนของผู้เรียน ได้แก่

ระเบียนแสดงผลการเรียน ประกาศนียบัตร แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา และใบรับรอง

ผลการเรียน

ผลิตแบบประเมินผลการเรียน เหมาะกับโรงเรียนไหนบ้าง

     แบบประเมินผลการเรียน(ปพ) เหมาะกับโรงเรียนที่ต้องการปรับเกณฑ์การประเมินผลการเรียนให้สอดคล้องกับหลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบัน ไม่อยากใช้ตัวชี้วัดจากเกณฑ์เดิม โดยเฉพาะ ช่วงเวลาที่ต้องเรียนออนไลน์ที่ทำให้เกณฑ์ชี้วัดของการเรียน ต่างไปอย่างมาก

สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ. มีความสำคัญอย่างไร

     สมุดพกนักเรียน คือ หลักฐานข้อมูล รายวิชา พฤติกรรม ต่างๆ ของนักเรียนที่มีระบุไว้ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมากต่อ ตัวนักเรียนเอง เกรต เฉลี่ย วิชา คะแนนสะสมและอื่นๆ

ข้อระวังก่อนสั่งผลิต แบบประเมินผลการเรียน ปพ.

1. ระวังสั่งผลิตแบบประเมินผลการเรียน แล้ว ไส้ในพลาสติกแลบ
2. แบบประเมินผลการเรียน ใส่ในพลาสติกควรใช้เกรด A
3. ห้ามใช้ซองพลาสติกแบบที่ขาดแล้วเป็นรอยฉีกยาว   

ราคาขึ้นอยู่กับ จำนวนหน้าของแบบประเมินผลการเรียน(ปพ) รวมถึงไส้ในพลาสติกของ ปพ.จำนวนเล่ม ปพ ที่สั่งผลิต ความหนาของกระหนาที่ใช้เป็นต้นสมุดพกนักเเรียนแต่ละแบบ มีเนื้อหา รูปแบบ ต่างกัน 

     ปพ4    ราคา    30 บาท          

     ปพ5    ราคา    15  บาท

     ปพ6    ราคา    30 บาท

     ปพ8    ราคา    25 บาท

     ปพ6 แบบปกหนัง

     ขนาด A4 เนื้อหา 8 หน้า

     500 เล่ม      75 บาท

     มีซองพลาสติก 10 ซอง

     1000 เล่ม    65 บาท

กระดาษที่ใช้พิมพ์ปก สมุดพกนักเรียน / ปพ. มีดังนี้

1. กระดาษการ์ดสี 180 แกรม
2. กระดาษอาร์ตมัน 180 แกรม
3. กระดาษอาร์ตการ์ด 210 แกรม
4. กระดาษกล่องแป้งหลังเทา 210 แกรม
กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อใน สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.
1. กระดาษปอนด์ 70 แกรม
2. กระดาษปอนด์ 80 แกรม

     แบบประเมินผลการเรียน ปพ.รุ่นที่ดีที่สุดของเรา ปรับเปลี่ยนเนื้อหาแบบประเมินผลการเรียนได้ไส้ในพลาสติกเกรด A

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.1 ระเบียนแสดงผลการเรียน (Transcript) มีความสำคัญ คือ  เป็นเอกสารบันทึกผลการเรียนของผู้เรียนตามสาระการเรียนรู้กลุ่มวิชาและกิจกรรมต่างๆ ที่ได้เรียนในแต่ละระดับชั้นของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรแกนกลางการศึกษาภาคบังคับ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงสถานภาพและความสำเร็จในการศึกษาของผู้เรียนแต่ละคน นอกจากนี้ยังใช้เป็นหลักฐานในการสมัครเข้าศึกษาต่อ สมัครทำงาน หรือดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.2 หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา (ใบประกาศนียบัตร) มีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารที่สถานบันการศึกษาออกให้กับผู้สำเร็จการศึกษา เพื่อนำใช้เป็นหลักฐานในการแสดงระดับวุฒิการศึกษาของตนเองที่ได้เรียนจบมานั่นเอง

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.3 แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา มีความสำคัญ คือ

เป็นแบบรายงานรายชื่อและข้อมูลของผู้สำเร็จการศึกษาภาคบังคับหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้เป็นหลักฐานสำหรับตรวจสอบ ยืนยัน และรับรองว่าได้เรียนจบในหลักสูตรจริง ต่อเขตพื้นที่การศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.4 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารรายงานพัฒนาการด้านคุณลักษณะของผู้เรียนเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ที่สถานศึกษากำหนดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนเป็นพิเศษ เพื่อการแก้ปัญหา หรือสร้างเอกลักษณ์ให้ผู้เรียนตามวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ที่ใช้แสดงถึงสภาพหรือระดับคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม หรือคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในแต่ละระดับชั้น สถานศึกษาต้องจัดทำเอกสารนี้ให้ผู้เรียนทุกๆ คน ควบคู่กับระเบียนแสดงผลการเรียนของผู้เรียน เพื่อนำไปใช้เป็นหลักฐานแสดงคุณลักษณะของผู้เรียนเพื่อประกอบในการสมัครศึกษาต่อหรือสมัครเข้าทำงาน

      สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.5 แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน มีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารสำหรับผู้สอนใช้บันทึกเวลาเรียน ข้อมูลการวัดและประเมินผลการเรียน ข้อมูลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนแต่ละคนที่เรียนในห้องเรียนกลุ่มเดียวกัน เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปรับปรุง แก้ไข ส่งเสริม และตัดสินผลการเรียนของผู้เรียน รวมทั้งใช้เป็นหลักฐานสำหรับตรวจสอบ ยืนยัน สภาพการเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนแต่ละคน

สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.6 แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล มีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารสำหรับบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลการเรียน พัฒนาการในด้านต่างๆ และข้อมูลอื่นๆ ของผู้เรียน

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.7 ใบรับรองผลการศึกษามีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารที่สถานศึกษาออกให้ผู้เรียนเป็นการเฉพาะกิจ เพื่อรับรองสถานภาพทางการศึกษาของผู้เรียนเป็นการชั่วคราว ทั้งกรณีผู้เรียนยังไม่สำเร็จการศึกษาและสำเร็จการศึกษา

     สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.8 ระเบียนสะสมมีความสำคัญ คือ เป็นเอกสารสำหรับบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการและผลงานด้านต่างๆ ของผู้เรียน ทั้งที่สถานศึกษาและที่บ้าน เพื่อประโยชน์ในการแนะแนวผู้เรียนในทุกๆ ด้าน

สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.9 สมุดบันทึกผลการเรียนมีความสำคัญ คือเป็นสมุดบันทึกผลการเรียนรู้ที่สถานศึกษา จัดทำขึ้นเพื่อบันทึกรายการรายวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนในแต่ละชั้นปี ตามโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา พร้อมด้วยผลการประเมินการเรียนของแต่ละรายวิชา และสถานศึกษาออกให้ผู้เรียนสำหรับใช้ศึกษาและนำไปแสดงให้บุคคลหรือหน่วยงานที่สนใจได้ทราบ โครงสร้างหลักสูตรและรายละเอียดของรายวิชาต่างๆ ของสถานศึกษา พร้อมด้วยผลการเรียนของผู้เรียนจากการเรียนแต่ละรายวิชา กรณีที่ผู้เรียนย้ายสถานศึกษาข้อมูลในสมุดบันทึกผลการเรียนรู้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้เป็นข้อมูลในการเทียบโอนผลการเรียนจากสถานศึกษาเดิมไปเป็นผลการเรียนตามหลักสูตรของสถานศึกษาใหม่

หัวข้อในสมุดพก หรือ ปพ.8 มีอะไรบ้าง

หัวข้อและรายละเอียดในสมุดพก หรือ ปพ.8 มีดังนี้

  1. ประวัติส่วนตัวนักเรียน

  2. ด้านเกี่ยวกับสุขภาพ

  3. ด้านเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

  4. ด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและทางบ้าน

  5. ด้านเกี่ยวกับการเรียน

  6. ด้านเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และบุคลิคภาพ

  7. ด้านสุขภาพจิตและค่านิยม

  8. เป้าหมายของชีวิตในอนาคต

ปพ1 คือ ระเบียนแสดงผลการเรียน
ปพ2 คือ หลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา
ปพ3 คือ แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา
ปพ4 คือ แบบแสดงผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์
ปพ5 คือ แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
ปพ6 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล
ปพ7 คือ ใบรับรองผลการศึกษา
ปพ8 คือ ระเบียนสะสม
ปพ9 คือ สมุดบันทึกผลการเรียน

     หลายคนคงสงสัยว่าทำไมนักเรียนต้องมีสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน หรือที่เรียกกันว่า "สมุดพก" เหตุก็เพราะว่าการศึกษาในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนวิธีการประเมินผลให้ครอบคลุม และเป็นระบบ สามารถทราบพัฒนาการและความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนในทุกๆ ด้าน และนำผลการประเมินแจ้งให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองรับทราบ เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เต็มที่ ดังนั้นการจัดทำสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการความก้าวหน้าของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

     ‘สมุดรายงานประจำตัวเด็ก’ หรือ ที่เรียกกันติดปากกว่า ‘สมุดพก’ คือเอกสารประเมินพัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย โดยปัจจุบันสมุดรายงานประจำตัวเด็ก ได้มีการปรับให้ตรงตามเกณฑ์การประเมินและจุดหมายของหลักสูตรปฐมวัย
ตัวช่วยการประเมินพัฒนาการ
การพัฒนาการของเด็กนั้นนอกจากการมองเห็นด้วยตา รับรู้ด้วยความรู้สึกและการกระทำ สิ่งที่จำเป็นคือต้องทำการจดบันทึกเพื่อเป็นการประเมินและส่งให้ตรงตามหลักเกณฑ์ของสถานศึกษา และหลักเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาภาคปฐมวัย
     โดยสมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก,การบันทึกพัฒนาการ และ หลักเกณฑ์ของจุดมุ่งหมายในการพัฒนาของตัวเด็กที่ระบุไว้ เพื่อให้คุณครูได้เก็บบันทึกข้อมูลของเด็ก ซึ่งหน้าที่ของคุณครูกับสมุดรายงานประจำตัวเด็กเล่มนี้คือการทำการกรอกข้อมูล การบันทึกพัฒนาการ และการประเมินพัฒนาการเด็ก โดยการใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นจะใช้ 1 เล่ม ต่อ 1 คน 


สื่อกลางสื่อสารกับผู้ปกครอง
     สมุดรายงานประจำตัวเด็กจะเป็นแหล่งบันทึกข้อมูลและหลักฐานสำหรับการพูดคุยกับผู้ปกครองของเด็ก เพื่อให้พวกเขารับรู้ถึงพัฒนาการของลูก และรับรู้ว่าลูกมีข้อบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางไหน เพื่อที่จะได้หาทางร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้ปกครองในการช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก ที่ยังไม่ผ่านหลักเกณฑ์ให้กลับมามีพัฒนาการตรงตามเกณฑ์ เพื่อพร้อมที่จะเรียนในระดับชั้นถัดไป

 
มีความแม่นยำกว่าการทำเอง
     อย่างที่บอกในข้อก่อนหน้าสมุดรายงานประจำตัวเด็กมีหน้าที่ช่วยคุณครูสำหรับการบันทึกข้อมูล แต่การจดบันทึกข้อมูลเองโดยไม่ได้ใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้นอาจจะทำให้มีส่วนใดส่วนหนึ่งตกหล่นดังนั้นการใช้สมุดรายงานประจำตัวเด็กที่จัดเนื้อหาข้อมูลครบถ้วนตามเกณฑ์ของกระทรวงศึกษาธิการ จะทำให้คุณครูผู้สอน

สามารถลงบันทึกสำเร็จได้ครบทุกจุดนั่นเอง 


หลักฐานประเมินคุณค่าการจัดการศึกษา

     แน่นอนว่าการที่คุณครูบันทึกข้อมูลการพัฒนาของเด็กและทำการประเมินพัฒนาการตามที่ระบุไว้ในสมุดรายงานประจำตัวเด็กนั้น จะทำให้มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรในการประเมินคุณภาพของเด็กและข้อมูลนี้นั่นเองที่สามารถนำมาใช้ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของคุณครูได้ เพราะการจัดการศึกษาที่จะรู้ว่ามีคุณภาพหรือไม่ผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาในตัวเด็กจะเป็นตัวบ่งชี้ ที่สำคัญอย่างหนึ่งของการประเมินคุณครูโดยสถานศึกษาหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

รายละเอียด สมุดพกนักเรียนที่สำคัญ ยกตัวอย่าง
ปพ.5 / ปพ.6 / ปพ.8

หัวข้อในสมุดพก หรือ ปพ.5 มีอะไรบ้าง?

หัวข้อและรายละเอียดในสมุดพก หรือ ปพ.5 มีดังนี้
1.ส่วนปก
2. ตัวชี้วัด/มาตรฐาน-ตัวชี้วัด วิชาเพิ่มเติม พิมพ์เฉพาะจุดประสงค์
รายวิชาพื้ฯฐานพิมพ์เฉพาะมาตรฐาน ตัวชี้วัด
3. หน่วยการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ ภาระงานและสัดส่วนคะแนนประเมินผล
4. รายงานผลการบันทึกเวลาเรียนของนักเรียน
5. คะแนนหน่วยการเรียน – พิมพ์ทุกหน้าที่มีคะแนน หน้าละ 4 หน่วย
6. สรุปคะแนนหน่วยการเรียนรู้ คะแนนกลางภาค คะแนนปลายภาค
สรุป ผลการเรียน
7. คะแนนคุณลักษณะ
8. คะแนนอ่านคิดวิเคราะห์
9.บันทึกเพิ่มเติม

แนวปฏิบัติการกรอกสมุดบันทึกการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน(ปพ.5)

ส่วนปก

 - การกรอกข้อมูลทั้งหมดให้ใช้ปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน สีใด

สีหนึ่ง เท่านั้น

 - กรอกข้อมูลพื้นฐานปกหน้า ใช้คำเต็ม ไม่ใช้คำย่อ ใช้ตัวเลขอารบิก

 - เวลาเรียนแต่ละวิชา 40 ชั่วโมง : จำนวนน้ำหนัก 1 หน่วยกิต

 - คำนำหน้าชื่อครูผู้สอน/ครูที่ปรึกษา  ให้ ใช้คำเต็ม เช่น นางสาว

การบันทึกเวลาเรียน

 - การกรอกตัวเลข  ให้ใช้เลขอารบิค

 - คำนำหน้าชื่อนักเรียน  ให้ใช้คำเต็ม เช่น เด็กชาย  เด็กหญิง

 - กรอกวันที่เข้าสอนในช่องวันของแต่ละสัปดาห์ และกรอกชั่วโมงที่เข้าสอน  การกรอกชั่วโมงที่เข้าสอนให้กรอกเรียงไปจนครบจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของรายวิชา

 - กรณีการสอนเกิน 1 ชั่งโมงต่อวัน เช่น 2 ชั่วโมง ให้กรอกดังนี้  1-2 , 3-4  เป็นต้น

 - กรณีนักเรียนมาเรียน ให้ทำเครื่องหมาย / เต็มช่อง c ด้วยปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน สีใดสีหนึ่ง เท่านั้น

 - กรณีนักเรียนขาดเรียน  ให้ทำเครื่องหมาย 0 เต็มช่อง c ด้วยปากกาสีแดง และเขียนระบุการขาดเรียนของ

    นักเรียนด้วยตัวอักษร  ข  กลางเครื่องหมาย 0 ด้วยปากกา

สีดำ หรือสีน้ำเงิน

 - การบันทึกว่าเป็นวันหยุด ให้ขีดยาวตรงกลางช่องตั้งแต่แนวชื่อนักเรียนเลขที่ 1 ถึงเลขที่สุดท้ายด้วยปากกาสีแดง อนึ่ง การขีดเส้นดังกล่าวนั้น ให้เว้นตรงกลางพอประมาณ  เพื่อเขียนบันทึกว่าเป็นวันหยุดใด เช่น หยุดวันขึ้นปีใหม่

 - หากมีการบันทึกว่าเป็นวันหยุด  ให้ครูผู้สอนหาเวลาเพื่อสอนชดเชย และบันทึกเวลาเรียนของการสอนชดเชย

   ดังกล่าวด้วย  การสอนชดเชยให้ครูผู้สอนนัดนักเรียนเพื่อเรียนชดเชยในชั่วโมงว่าง  ช่วงพักกลางวัน  หลังเลิกเรียน หรือให้งานนักเรียนและนับเป็นชั่งโมงเรียน

 - กรณีการบันทึกเวลาเรียนชดเชย  ให้บันทึกการมาเรียนและขาดเรียนของนักเรียนตามปกติ  และเขียนระบุการ

   บันทึกเวลาเรียนชดเชยวันดังกล่าวไว้ข้างล่าง เช่น ชดเชยวันขึ้นปีใหม่

 - การบันทึกเวลาเรียนกรณีนักเรียนย้าย  ให้ใช้ปากกาสีแดงขีดยาวจากวันสุดท้ายที่นักเรียนมาเรียนจนถึงช่อง

  บันทึกเวลาเรียนสุดท้าย  พร้อมเขียนระบุหมายเหตุด้วยปากกาสีดำ หรือสีน้ำเงิน เช่น จำหน่าย(ย้าย)

 - ให้บันทึกการเวลาเรียนรวมแต่ละภาคเรียน  เวลาเรียนตลอดทั้งปี  และคิดเป็นร้อยละของเวลาเรียนทั้งหมด

การบันทึกผลการประเมินตัวชี้วัด

 - กรอกมาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนเรียงลำดับจากน้อยไปหามากด้วยรูปย่อ เช่นอ1.1 ป.1/1 , อ1.1 ป.1/2  เป็นต้น

 - บันทึกคะแนนต็มและคะแนนที่ประเมินได้ของแต่ละตัวชี้วัดและสรุปผลการประเมินว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน โดยทำเครื่องหมาย P ลงในช่องที่กำหนด

 - กรณีที่นักเรียนประเมินไม่ผ่านตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่ง  นักเรียนสามารถขอแก้ผลการประเมินดังกล่าว โดยครูผู้สอนอาจต้องสอนซ่อมเสริมและให้นักเรียนประเมินใหม่ และให้บันทึกผลคะแนนที่นักเรียนได้จริง

 

 - กรณีนักเรียนได้รับการประเมินผ่านตัวชี้วัดใดตัวชี้วัดหนึ่งแล้ว  แต่ต้องการพัฒนาผลการเรียนรู้ของตนเอง นักเรียนสามารถขอรับการประเมินใหม่  และให้ครูผู้สอนบันทึกคะแนนใหม่ที่ได้มากกว่าเดิม

 - ให้รวมตัวชี้วัดที่กำหนดตามกลุ่มสาระการเรียนรู้  และรวมตัวชี้วัดที่นักเรียนผ่าน ลงในช่องที่กำหนด 

 - ให้สรุปผลการประเมินตัวชี้วัดว่า ผ่าน หรือไม่ผ่าน ตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด  โดยทำเครื่องหมาย P ลงในช่องที่กำหนด

( เกณฑ์การผ่านการประเมินตัวชี้วัด : นักเรียนต้องผ่านการประเมินตัวชี้วัดไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

การบันทึกคะแนนแต่ละภาคเรียน

 - ให้บันทึกคะแนนระหว่างภาคในแต่ละภาคเรียน โดยคิดจากคะแนนที่นักเรียนประเมินตามตัวชี้วัดได้ในภาคเรียนนั้นในสัดส่วนที่โรงเรียนกำหนด 

 - ให้บันทึกคะแนนปลายภาคในแต่ละภาคเรียน โดยคิดจากคะแนนที่นักเรียนประเมินได้ในภาคเรียนนั้นในสัดส่วนที่โรงเรียนกำหนด 

 - ให้บันทึกคะแนนรวมแต่ละภาคเรียน โดยการรวมคะแนนระหว่างภาคและคะแนนปลายภาค

การบันทึกผลการเรียนรู้รายปี

 - ให้รวมคะแนนแต่ละภาคเรียน และบันทึกลงในช่องผลการเรียนรู้รายปี  พร้อมแปลงเป็นระดับผลการเรียนรู้ตามที่โรงเรียนกำหนด

 - ให้สรุปผลการประเมินว่าผ่าน หรือไม่ผ่าน ลงในช่องสรุปผลการประเมิน ( นักเรียนต้องได้ระดับผลการเรียนไม่ต่ำกว่า 1 จึงจะถือว่า ผ่านการประเมินรายวิชา )

     ที่เสนอนี้เป็นเอกสารที่ออกแบบเพื่อใช้บันทึกและรายงานผลการพัฒนาคุณภาพ

ผู้เรียนได้ตลอดช่วงชั้น โดยกำหนดให้กรอกข้อมูลและรายงานผลเป็นรายภาค ข้อมูลต่างๆ ที่กำหนดให้นำมากรอกมี ดังนี้

 

1. หน้าปก  ให้กรอกข้อมูลต่อไปนี้

  1. ช่วงชั้นที่นักเรียนกำลังศึกษา

  2. ชื่อโรงเรียนที่เรียน

  3. ชื่อ – สกุลและเลขประจำตัวของนักเรียน  วัน  เดือน  ปีเกิด

  4. ปีการศึกษาที่เริ่มเรียนและปีการศึกษาที่จบช่วงชั้น

  5. รายชื่อครูปรึกษาของนักเรียนในแต่ละภาค/ปีการศึกษาตลอดช่วงชั้น

  6. ชื่อ–สกุล พร้อมลายเซ็นของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองของนักเรียนในช่วงชั้นที่กำลังศึกษา

  7. กรอกความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน

2. เกณฑ์การจบหลักสูตรและเกณฑ์การจบช่วงชั้นของโรงเรียน

3. การรายงานผลการเรียนสาระการเรียนรู้

     กำหนดให้รายงานผลการเรียนสาระการเรียนรู้ ในตารางรายงานผลการเรียนเป็นรายภาคเรียน และระดับผลการเรียนเมื่อเรียนจบรายวิชา โดยกรอกรายวิชาที่เรียนในปีเดียวกันและกรอก ข้อมูลการเรียนเป็นรายบุคคล ดังนี้

  1. กรอกชื่อ รหัส จำนวนหน่วยกิต หรือน้ำหนักของรายวิชา

  2. กรอกข้อมูลผลการเรียนแต่ละภาคเรียนในช่วงบันทึกข้อมูล

การประเมินของ ภาคเรียนนั้นๆ รายวิชาใดที่เรียนเพียงภาคเดียว ก็จะมีข้อมูลกรอกไว้เฉพาะในภาคเรียนนั้น รายวิชาที่ต้องเรียนตลอดปีก็จะมีข้อมูลกรอกทั้ง 2 ภาค

  3. คะแนนเฉลี่ย 2 ภาคเรียน ให้นำคะแนนทั้ง 2 ภาคเรียนรวมกันหาค่าเฉลี่ย

  4. กรอกผลการตัดสินผลการเรียนปกติ เมื่อสิ้นสุดรายวิชาในช่องผลการเรียนปกติเป็นระดับผลการเรียนที่ได้จากคะแนนเฉลี่ยทั้ง 2 ภาคเรียน

  5. กรอกผลการตัดสินผลการเรียนรายวิชาที่ต้องการมีการซ่อมเสริม  หรือปรับปรุงแก้ไขในช่องผลกาเรียนแก้ไข

4.การรายงานผลการการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

     กำหนดให้บันทึกผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนของนักเรียนตลอดช่วงชั้นที่กำลังเรียนไว้ในตารางเดียวกัน โดยจำแนกผลการประเมินเป็นด้านการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน และบันทึกผลการประเมินเป็นรายภาค ดังนี้

  1. กรอกปีการศึกษาที่นักเรียนได้รับการประเมิน

 2. กรอกข้อมูลผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียนแต่ละภาคเรียนในช่องที่กำหนด

 3.กรอกผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน เมื่อสิ้นสุดช่วงชั้นในช่องสรุปของแต่ละด้าน

 4. กรอกผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ผ่านช่วงชั้นด้วยการขีดเครื่องหมาย “ü” ลงในช่อง ð ตามผลการตัดสินที่ได้รับ

 5. ผลการแก้ไขให้กรอกความสามารถที่ไม่ผ่านการประเมิน วันที่ ชื่อเดือน และปีการศึกษา ที่นักเรียนซ่อมเสริมหรือปรับปรุงแก้ไขผลการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน ที่ไม่ผ่านการตัดสินเป็นผลสำเร็จ

5. การรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

     กำหนดให้บันทึกและรายงานผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนตลอดช่วงชั้นไว้ในตารางเดียวกัน โดยจำแนกการประเมินคุณลักษณะแต่ละข้อจากกัน แล้วบันทึกผลการประเมินเพื่อรายงานเป็นรายภาคเรียน ดังนี้

  1. กรอกรายการคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละรายการในช่องตารางด้านซ้ายสุด และกรอกปีการศึกษาที่นักเรียนได้รับผลการประเมินที่ช่องบนของตาราง

  2. กรอกข้อมูลผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละภาคเรียนในช่องที่กำหนด

  3. กรอกผลการสรุปผลกาประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์แต่ละรายการเมื่อสิ้นสุดช่วงชั้นในช่องสรุป

  4. กรอกผลการตัดสินคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยรวมของคณะกรรมการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของโรงเรียนด้วยการขีดเครื่องหมาย “ü” ลงในช่อง ð ตามผลการตัดสินที่ได้รับ

  5. กรณีนักเรียนได้รับการตัดสินให้ได้ “ควรปรับปรุง” ให้กรอกรายการคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ไม่ผ่านการประเมินในช่อง “คุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องแก้ไข”

  6. เมื่อนักเรียนแก้ไขซ่อมเสริมข้อบกพร่องตามที่โรงเรียนกำหนดแล้ว  ให้กรอกวันที่ เดือน และ พ.ศ. ที่นักเรียนได้รับอนุมัติผลการแก้ไขในช่อง “แก้ไขสำเร็จเมื่อ”

6.การรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

 กำหนดให้บันทึกข้อมูลและรายงานผลการปฏิบัติกิจกรรม ในทำนองเดียวกันกับผลการเรียนสาระการเรียนรู้ คือกรอกข้อมูลผลการปฏิบัติกิจกรรมที่ปฏิบัติในปีเดียวกันไว้ในตารางเดียวกัน และกรอกผลการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายภาค  ดังนี้

  1. กรอกชื่อกิจกรรม รหัสกิจกรรม

  2. กรอกข้อมูลผลการปฏิบัติกิจกรรมแต่ละภาคเรียนในช่อง “ผ่าน”  หรือ “ไม่ผ่าน” ของภาคเรียนนั้น ๆ กิจกรรมใดที่กำหนดให้ปฏิบัติเพียงภาคเรียนเดียว ก็จะมีข้อมูลกรอกไว้เฉพาะภาคเรียนนั้น กิจกรรมใดต้องปฏิบัติตลอดปีก็จะมีข้อมูลกรอกทั้ง 2 ภาคเรียน

  3. กรอกผลการตัดสินการปฏิบัติกิจกรรมตามปกติในช่องผลการเรียนปกติ

  4. กรอกผลการตัดสินการปฏิบัติกิจกรรมที่ต้องมีการซ่อมเสริม  หรือปรับปรุงแก้ไขในช่องผลการเรียนแก้ไข ให้ผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนได้รับทราบผลการเรียนรู้ และการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียนในแต่ละภาคเรียนและเมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

7. การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนักเรียน

      แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล (ปพ.6)

กำหนดให้ครูที่ปรึกษาของนักเรียนและผู้ปกครองได้แสดงความคิดเห็นต่อนักเรียนในด้านต่าง ๆ เหมือนกัน เพื่อสะท้อนสภาพของนักเรียนขณะที่โรงเรียนและที่บ้านว่ามีลักษณะสอดคล้องกันหรือแตกต่างกัน ให้แต่ละฝ่ายได้รับทราบ โดยกำหนดให้แสดงความเห็นภาคเรียนละ 1 ครั้ง ตลอดช่วงชั้นในตารางแสดงความคิดเห็นของแต่ละฝ่าย

ประเด็นที่ให้ครูประจำชั้นและผู้ปกครองแสดงความคิดเห็น ดังนี้

  1. การแสดงความรับผิดชอบในหน้าที่ที่โรงเรียนและทางบ้านมอบหมาย

  2. ความเอาใจใส่ต่อการเรียน

  3. ความสัมพันธ์กับครูและเพื่อน / บุคคลในบ้าน

  4. การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

  5. อุปนิสัยและบุคลิกภาพ

  6. สุขภาพและการดูแลรักษาสุขภาพอนามัยนักเรียน

  7. อื่น ๆ

8. การรายงานสรุปผลการเรียนตลอดช่วงชั้น

 กำหนดให้สรุปข้อมูลต่าง ๆ ในช่องที่กำหนด ดังนี้

  1.  จำนวนหน่วยน้ำหนักที่ต้องเรียนตามโครงสร้างของหลักสูตรของโรงเรียน

  2. จำนวนหน่วยน้ำหนักทั้งหมดที่เรียน

  3. จำนวนหน่วยน้ำหนักที่ได้

  4. ผลการเรียนเฉลี่ย

  5. จำนวนน้ำหนักกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่ต้องปฏิบัติตามโครงสร้างหลักสูตรของโรงเรียน

  6. จำนวนน้ำหนักกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งหมดที่นักเรียนปฏิบัติ

  7. จำนวนน้ำหนักกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนทั้งหมดที่นักเรียนปฏิบัติ

  8. ผลการประเมินการอ่าน  คิดวิเคราะห์  และเขียน

  9. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์

  10. สรุปผลการผ่านช่วงชั้น

  11. วันอนุมัติการผ่านช่วงชั้น

  12. ลายมือชื่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรายงาน ได้แก่ 

      1. ครูประจำชั้น  2. ผู้บริหารสถานศึกษา  3. ผู้ปกครอง

 

9.การรายงานผลการประเมินผลระดับชาติ

     กำหนดให้แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล  (ปพ.6) นี้ บันทึกและรายงานผลการประเมินระดับชาติทุกชนิดที่นักเรียนได้รับการประเมินตลอดช่วงชั้นในตารางเดียวกัน ดังนี้

  1. บันทึก วัน เดือน ปี ที่นักเรียนได้รับการประเมินผลระดับชาติแต่ละประเภทในช่องท้ายสุดของตาราง

  2. กรอกชื่อแบบทดสอบที่นักเรียนได้รับการประเมินให้ตรงกับวัน/เดือน/ปี ทดสอบ

  3. กรอกผลการประเมินที่นักเรียนได้จากแบบทดสอบที่กรอกไว้ในบรรทัดเดียวกันของตาราง

10.รายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล (ปพ.6) ภาคเรียนละ 1 ครั้ง

11.กรณีนักเรียนย้ายสถานศึกษา ให้นำแบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล (ปพ.6)ให้สถานศึกษาที่รับย้าย

12.ให้นักเรียนเก็บสะสมเอกสารนี้ ไว้ให้ครบถ้วนตลอดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐานทุกช่วงชั้นเพื่อแสดงข้อมูลพัฒนาการทางการเรียนของผู้เรียน

หัวข้อในสมุดพก หรือ ปพ.8 มีอะไรบ้าง

หัวข้อและรายละเอียดในสมุดพก หรือ ปพ.8 มีดังนี้

  1. ประวัติส่วนตัวนักเรียน

  2. ด้านเกี่ยวกับสุขภาพ

  3. ด้านเกี่ยวกับเศรษฐกิจ

  4. ด้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและทางบ้าน

  5. ด้านเกี่ยวกับการเรียน

  6. ด้านเกี่ยวกับมนุษยสัมพันธ์และบุคลิคภาพ

  7. ด้านสุขภาพจิตและค่านิยม

  8. เป้าหมายของชีวิตในอนาคต

สมุดพกนักเรียน แต่ละแบบคืออะไรบ้าง
สวัสดีคะ เราจะมาทำความรู้จักกับ"สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ. " กันนะคะ
สมุดพกนักเรียน ปพ.5 คือ แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
สมุดพกนักเรียน ปพ.6 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล

ปกที่ใช้พิมพ์สมุดพกนักเรียน งานพิมพ์ 1 สี คือ
- กระดาษการ์ดสี 180 แกรม

สีที่ใช้พิมพ์ปก คือ สีฟ้า สีชมพู สีม่วง สีเขียว สีเหลือง

สีที่ใช้พิมพ์ตราโรงเรียน คือ สีดำ และสีน้ำเงิน

สมุดพกนักเรียน มีทั้งแบบเย็บสันลวดและแบบพับ

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดพกอนุบาล
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียน ปพ5 คือ แบบแสดงผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน
สมุดพกนักเรียน ปพ6 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล
สมุดพกนักเรียน ปพ8 คือ ระเบียนสะสม

สมุดพกนักเรียน งานพิมพ์ 1 สี
-กระดาษที่ใช้พิมพ์ปก คือ กระดาษการ์ดสี 180 แกรม
-สีที่ใช้พิมพ์ปก คือ สีฟ้า สีชมพู สีเขียว สีเหลือง
-สีที่ใช้พิมพ์ตราโรงเรียน คือ สีดำ และสีน้ำเงิน
-สมุดพกนักเรียน มีทั้งแบบเย็บสันลวดและแบบพับ

กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อใน
-กระดาษปอนด์ 70-80 แกรม

เนื้อในสมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.
-ส่วนมากจะเป็นเนื้อเฉพาะของโรงเรียน แต่ละโรงเรียนรายละเอียดจะไม่เหมือนกัน จะมีซองพลาสติกใส A4 ไว้เก็บผลงานนักเรียน

**สั่งสมุดพกนักเรียน หรือปพ.ขั้นต่ำ 300 เล่ม**

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @Schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#ระเบียนสะสม
#สมุดสมุดพกอนุบาล
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

เนื้อในสมุดพกนักเรียน หรือ ปพ.
ส่วนมากจะเป็นเนื้อเฉพาะของโรงเรียน แต่ละโรงเรียนรายละเอียดจะไม่เหมือนกัน
จะมีซองพลาสติกใส A4 ไว้เก็บผลงานนักเรียน

กระดาษที่ใช้พิมพ์เนื้อใน
- กระดาษปอนด์ 70-80 แกรม

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดพกอนุบาล
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียน ปพ. งานพิมพ์ 4 สี
วิธีการพิมพ์ สมุดพกนักเรียน ปพ 4 สี
1. กระดาษปกสีขาว
2.เอากระดาษปกสีขาวไปพิมพ์ตราโรงเรียน ชื่อโรงเรียน
3.แม่สีที่ใช้พิมพ์ คือ สีฟ้า สีแดง สีเหลือง สีดำ
รูปแบบสมุดพกนักเรียนก็จะมีสีที่สดใส

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดสมุดพกอนุบาล
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียน ปพ.แบบเจาะหน้าต่าง
ด้านหน้าพิมพ์ตราโรงเรียน ชื่อโรงเรียน เจาะหน้าปกรูปแบบสีเหลี่ยม
ด้านในจะมีลิ้นแฟ้มสำหรับเจาะเอกสารใส่ข้างใน

กระดาษที่ใช้พิมพ์ปก คือ
- กระดาษการ์ดสี 180 แกรม
- กระดาษอาร์ตมัน 180 แกรม
- กระดาษอาร์ตการ์ด 210 แกรม
- กระดาษกล่องแป้งหลังเทา 210 แกรม

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดพกอนุบาล
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียน หรือ ปพ. กระดาษที่ใช้พิมพ์ปก คือ
- กระดาษการ์ดสี 180 แกรม
- กระดาษอาร์ตมัน 180 แกรม
- กระดาษอาร์ตการ์ด 210 แกรม
- กระดาษกล่องแป้งหลังเทา 210 แกรม

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดพกอนุบาล
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียน ปกหนัง หรือ  ปพ. ปกพลาสติก

สีที่ใช้พิมพ์ปก ดังนี้
สีฟ้า สีบานเย็น สีส้ม สีแดง สีชมพู สีกรม

ส่วนมากจะเน้นปั๊มทอง ปั๊มเงิน ตราโรงเรียน ชื่อโรงเรียน

สนใจสอบถามข้อมูล
โทร 091-554-4536
ไลน์ @schoolshop

#สมุดพกนักเรียน
#ผลิตสมุดพกนักเรียน
#โรงงานผลิตสมุดพกนักเรียน
#สมุดประจำตัวนักเรียนปฐมวัย
#ปพ5
#ปพ6
#ปพ8
#สมุดพกอนุบาล
#แบบประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน
#Schoolshop

สมุดพกนักเรียนปกหนัง.jpg
สมุดพกนักเรียน.jpg

สมุดพกนักเรียน ปพ.6
SchoolShop

สมุดพกนักเรียน
โรงเรียนบ้านถนนหัก(เพียรประจงวิทยา)

สมุดพกนักเรียน.jpg
สมุดพกนักเรียน.jpg

สมุดพกนักเรียน
โรงเรียนพิทยรังสี

สมุดพกนักเรียน
โรงเรียนนครระยอง(วัดโขดใต้)

bottom of page